เรียนรู้และทำความเข้าใจแบบประเมินความยั่งยืน THSI
ฟรี
เรียนรู้และทำความเข้าใจแบบประเมินความยั่งยืน THSI
ฟรี
ฟรี
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดทำ Thailand Sustainability Investment (THSI) หรือ รายชื่อหุ้นยั่งยืน ซึ่งสะท้อนให้เห็นหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่มีการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และมีการบริหารงานตามหลักบรรษัทภิบาล (Environmental, Social and Governance หรือ ESG) เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนตามแนวทางของการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible Investment)
หุ้นใน THSI จะถูกคัดเลือกจากบริษัทจดทะเบียนที่สมัครใจเข้าร่วมประเมินความยั่งยืน THSI ที่จัดทำโดยตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยการประเมินฯ ครอบคลุมคำถามในมิติเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ดังนั้น หลักสูตร "เรียนรู้และทำความเข้าใจแบบประเมินความยั่งยืน THSI" จึงจัดทำขึ้นเพื่อช่วยเตรียมความพร้อมให้กับบริษัทจดทะเบียนที่สนใจเข้าร่วมประเมินดังกล่าว ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะมีการทบทวนแบบประเมินทุกปีให้สอดคล้องกับบริบทและแนวโน้มด้านความยั่งยืน (Sustainability Trends) ที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับสากลและระดับประเทศ
รายละเอียดหลักสูตรย่อย ประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่
1. Introduction
ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการและหลักเกณฑ์การคัดเลือกหุ้นยั่งยืน THSI, SETTHSI Index, รางวัล SET Awards กลุ่ม Sustainability Excellence รวมถึงวิธีการตอบแบบประเมินความยั่งยืน
2. แบบประเมินความยั่งยืน: มิติเศรษฐกิจ
ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและเหตุผล แนวปฏิบัติที่ดี และโครงสร้างคำถามของแบบประเมินในมิติเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยหมวดคำถามย่อย 8 หมวด ได้แก่ 1. หมวดบรรษัทภิบาล 2. หมวดจรรยาจรรยาบรรณธุรกิจ (Code of Conduct) และการต่อต้านการทุจริต 3. การบริหารความเสี่ยงและภาวะวิกฤต 4. การระบุประเด็นที่เป็นสาระสำคัญของธุรกิจ (Materiality) 5. การบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า 6. การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน 7. การดำเนินการด้านภาษี และ 8. นวัตกรรมทางธุรกิจเพื่อสังคมและ/หรือสิ่งแวดล้อม
3. แบบประเมินความยั่งยืน: มิติสิ่งแวดล้อม
ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและเหตุผล แนวปฏิบัติที่ดี และโครงสร้างคำถามของแบบประเมินในมิติสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วยหมวดคำถามย่อย 4 หมวด ได้แก่ 1.การเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม 2. การจัดการสิ่งแวดล้อม 3. การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และ 4. การจัดการด้านสภาพภูมิอากาศ
4. แบบประเมินความยั่งยืน: มิติสังคม
ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและเหตุผล แนวปฏิบัติที่ดี และโครงสร้างคำถามของแบบประเมินในมิติสังคม ซึ่งประกอบด้วยหมวดคำถามย่อย 6 หมวด ได้แก่ 1.การเปิดเผยข้อมูลด้านสังคม 2. การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรมและเคารพสิทธิมนุษยชน 3. การพัฒนาศักยภาพแก่พนักงาน 4. การจูงใจและรักษาพนักงาน 5.การมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคม และ 6. การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย
สิ่งที่ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้
- เข้าใจถึงกระบวนการประเมินความยั่งยืนและการคัดเลือก "หุ้นยั่งยืน THSI" รวมถึงรางวัล SET Awards กลุ่ม Sustainability Excellence
- เรียนรู้หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาคัดเลือกหุ้นยั่งยืน
- เจาะลึกรายละเอียด เพื่อทำความเข้าใจหลักการและวัตถุประสงค์ของข้อคำถามที่ใช้ในการประเมินใน 3 มิติ ได้แก่ มิติเศรษฐกิจ มิติสิ่งแวดล้อม และมิติสังคม ซึ่งจะช่วยให้บริษัทสามารถตอบคำถามได้ดียิ่งขึ้น
- ข้อแนะนำในการจัดเตรียมเอกสารสำหรับใช้อ้างอิงและประกอบการตอบคำถามในแบบประเมินความยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจสำหรับบริษัทจดทะเบียนที่ต้องการประเมินความยั่งยืนสำหรับการคัดเลือกให้อยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI (Thailand Sustainability Investment)
บริษัทจดทะเบียนที่ต้องการเตรียมความพร้อมในการประเมินความยั่งยืน